News Thai

การปรับปรุงราคาโอนของบริษัทที่มีความสัมพันธ์กัน และการยกเว้นไม่ต้องจัดทำรายงาน Disclosure Form

กฎกระทรวง ฉบับที่ 369 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน ได้กำหนดสาระสำคัญเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขให้เจ้าพนักงานประเมินใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงจำนวนรายได้ที่พึงได้รับและรายจ่ายที่พึงได้จ่ายระหว่างบริษัทในเครือเดียวกันตามนิยามของมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรไว้  2 ประการ ได้แก่ ลักษณะของ “ข้อกำหนดทางด้านการพาณิชย์หรือการเงิน” ที่ต้องถูกตรวจสอบราคาโอนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน (“บริษัทไม่อิสระ”) จะต้องเข้าองค์ประกอบดังต่อไปนี้ 1.1              มีข้อกำหนดทางด้านการพาณิชย์หรือการเงินระหว่างกัน 1.2              ข้อกำหนดตาม 1.1 แตกต่างจากข้อกำหนดในลักษณะเดียวกับที่บริษัทฯ ที่ดำเนินการโดยอิสระควรได้กำหนด (“บริษัทอิสระ”) 1.3              ข้อกำหนดตาม 1.1 มีผลทำให้เกิดการโอนถ่ายกำไรระหว่างกัน ผ่านกลไกดังนี้ ก.      กรณีการซื้อขายสินค้าหรือบริการ  ราคาที่ซื้อขายนั้นแตกต่างจากราคาซื้อขายสินค้าหรือบริการ ชนิดหรือประเภทเดียวกันและภายใต้สภาวการณ์เดียวกันของบริษัทอิสระ ...

Read more

News Thai

การชำระอากรแสตมป์บนตราสาร (กระดาษ) และตราสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Electronic Payment)

เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2563  ราชกิจจานุเบกษาได้ตีพิมพ์ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ฯ (ฉบับที่ 60) ลงวันที่ 15 กันยายน 2563 กำหนดวิธีการชำระอากรเป็นตัวเงินตามแบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ (อ.ส.9) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับตราสารบางลักษณะ บังคับใช้สำหรับตราสาร (แบบกระดาษ) ที่ต้องเสียอากรแสตมป์ซึ่งจัดทำขึ้นตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2563 เป็นต้นไปให้มีสิทธิเลือกชำระอากรแสตมป์ด้วยวิธีการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น ชำระผ่านเว็ปไซต์ของกรมสรรพากร หรือ application programing interface เป็นต้น ได้อีกวิธีการหนึ่งนอกเหนือจากการชำระเป็นตัวเงินที่ต้องเดินทางไปขอเสียอากรเป็นตัวเงิน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา เช่นเดียวกับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ที่กรมสรรพากรได้เคยออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร...

Read more

News Thai

ภาษีเพื่อสนับสนุนโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (Thailand Voluntary Emission Reduction Program, “T-VER”)

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2563 ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 694) พ.ศ. 2563 เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับกำไรสุทธิที่เกิดจากการขายคาร์บอนเครดิตเป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน โดยตามพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ออกใหม่นี้จะยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับการขายคาร์บอนเครดิตภายในประเทศเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากกรณีที่เคยมีมาตรการยกเว้นภาษีเพื่อสนับสนุนการขายคาร์บอนเครดิตให้กับผู้ซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศในช่วงปี พ.ศ. 2554 ถึง 2556 ทั้งนี้ ในการรับยกเว้นภาษีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องขึ้นทะเบียนกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (“อบก.”) ในช่วงระหว่างวันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ (23 มิถุนายน 2563) จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 และให้เริ่มนับรอบระยะเวลาบัญชีที่ อบก. ออกใบรับรองการขายคาร์บอนเครดิตให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการเป็นรอบระยะเวลาบัญชีแรก

Read more

News Thai

หลักเกณฑ์การนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและภาษีมูลค่าเพิ่มทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านธนาคาร (e-withholding Tax & VAT)

กฎกระทรวง ฉบับที่ 364 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการนำส่งภาษี ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2563 ได้วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกรณีผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีเลือกใช้วิธีการนำส่งภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางธนาคารตาม มาตรา 3 ปัณรส แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งสามารถสรุปดังนี้ ก.         ธนาคารจะต้องยื่นคำขอต่ออธิบดีกรมสรรพากรตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนด ข.         ภาษีที่ธนาคารสามารถนำส่งแทนผู้จ่ายเงินได้ คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ทุกรายการทั้งกรณีการจ่ายให้กับบุคคลธรรมดาที่เป็นผู้อยู่ในประเทศและต่างประเทศ ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้ประเภทต่างๆ อาทิ ค่าว่าจ้างทำของ ค่าสิทธิ ดอกเบี้ย/เงินปันผล/กำไรจากการขายหุ้นหรือตราสารหนี้/เงินลดทุน/ผลประโยชน์จากการควบโอนกิจการ ค่าเช่า และเงินได้ค่าวิชาชีพอิสระ ที่จ่ายให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศที่ไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย และการจำหน่ายเงินกำไรให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศ ...

Read more

News Thai

สิทธิยกเว้นภาษีเพิ่มเติมสำหรับรายจ่ายค่าอบรมสัมมนา 100% เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวปี พ.ศ. 2563

เพื่อเป็นการกระตุ้นให้มีการฟื้นฟูการท่องเที่ยวภายในประเทศ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 19.7 ของ GDP (ตามรายงาน “Thailand 2020 Annual Research: Key Highlights” ของ World Travel & Tourism Council)  และได้รับผลกระทบโดยตรงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 รัฐบาลได้ออกแพ๊กเกจต่างๆ เช่น แพ๊กเกจ “กำลังใจ” สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ แพ๊กเกจ “เราไปเที่ยวด้วยกัน” และ “เที่ยวปันสุข” สำหรับประชาชนทั่วไปที่รัฐบาลจะช่วยค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าที่พักโรงแรม ค่าตั๋วเครื่องบิน และค่าอาหารในรูปแบบต่างๆ ตามเงื่อนไข โดยในส่วนของสิทธิประโยชน์ในทางภาษีเพื่อช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวนั้น...

Read more

News Thai

การยกเว้นภาษีดอกเบี้ยพันธบัตรให้บริษัทต่างประเทศ

ในวันที่ 20 มิถุนายน 2563 รัฐบาลได้ออก พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 705) พ.ศ. 2563 เพื่อกำหนดยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ในส่วนของดอกเบี้ยพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และดอกเบี้ยพันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย ที่จ่ายให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ทั้งนี้ ปกติเงินได้ดังกล่าวจะถือเป็นเงินได้ตาม มาตรา 40 (4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากรที่ต้องถูกหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 เพื่อนำส่งต่อกรมสรรพากรตาม มาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร พระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่นี้มีผลยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 17/2561 ที่ประกาศไว้เมื่อ วันที่ 16 พฤศจิกายน ...

Read more

News Thai

กรมศุลกากรเปิดโอกาสให้ยื่นแก้ไขการเสียภาษีอากรไม่ถูกต้องโดยสมัครใจ

กรมศุลกากรเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่สุจริต ซึ่งได้เสียภาษีอากรสำหรับการนำเข้าหรือส่งออกไว้ไม่ถูกต้อง สามารถดำเนินการชำระค่าภาษีอากรให้ครบถ้วนได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 ตาม "โครงการรับชำระค่าภาษีอากรเพิ่ม ณ จุดเดียว (0ne Stop Service)” โดยจะได้รับการผ่อนผันไม่ต้องเสียเบี้ยปรับค่าอากร แต่ต้องเสียเงินเพิ่มโดยคิดอัตราลดลงจากอัตราปกติร้อยละ 1 ต่อเดือนตามมาตรา 22  เป็นดังนี้ ร้อยละ 0.25 ต่อเดือน กรณีนำเข้าหรือส่งออกภายใน 1 ปี ร้อยละ 0.50 ต่อเดือน กรณีนำเข้าหรือส่งออกเกิน 1 ปี...

Read more